เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 1


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

1
9 – 13
ม.ค.
60
โจทย์ : สร้างฉันทะ/แรงบันดาลใจ

Key  Questions :
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
- นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด :
- Brainstorm คำถามเกี่ยวกับคลิปวีดีโอและสิ่งที่ตนเองสงสัย
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความเหมือนหรือต่างจากบรรพบุรุษ/การออกแบบปฏิทินการเรีนรู้
- Think pair share  ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
Show and Learn นำเสนอชิ้นงาน
- Mind mapping ก่อนเรียน
- BAR การตั้งคำถามและการออกแบบกิจกรรม
- DAR กระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมทั้งหมด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดีโอ “จะเกิดอะไรขึ้นกับโลกในอีก 500 ปีข้างหน้า กับ 15 หายนะที่ถูกคาดการณ์ไว้
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนการบ้านปิดเรียนที่ผ่านมา ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ “หน่วย: วิวัฒนาการ” (นักเรียนเลือกหน่วยการเรียนรู้ PBL ก่อนปิดเรียน Q3
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ที่อยากเรียนรู้ผ่านการบ้านออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
ชง :
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “จะเกิดอะไรขึ้นกับโลกในอีก 500 ปีข้างหน้า กับ 15 หายนะที่ถูกคาดการณ์ไว้

- นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน  
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าลักษณะต่างๆ ที่เราเป็นอยู่ เช่น รูปร่าง หน้าตา นิสัย ความชอบ ความคิด ฯลฯ เป็นสิ่งที่ส่งผลมาจากบรรพบุรุษหรือไม่อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความเหมือนที่ได้จากบรรพบุรุษ
ใช้ : นักเรียนวาดแผนผังครอบครัว พร้อมกับลักษณะเด่นของแต่ละบุคคล พร้อมนำเสนอ
การบ้าน นักเรียนแต่ละคนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ พร้อมอธิบายเหตุผล เขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ของตนเองว่าอย่างไร เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด  Think pair share
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร?”
เชื่อม : 
- นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ (จากการบ้านปิดเรียนที่ผ่านมา)
- นักเรียนร่วมกันประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้และสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
ใช้ :  เขียนสรุปลงในกระดาษชาร์ต ปฏิทินการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ และป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนทำงานต่อจากวันอังคารที่ผ่านมา
นักเรียนนำเสนองานความก้าวหน้าของงาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นคิดดังนี้
-    นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-    นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-    นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-    ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำงาน
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ก่อนเรียนรู้หน่วยนี้นักเรียนมีความรู้เรื่องใดบ้าง?”
ใช้ :  นักเรียนเขียน Mind mapping ก่อนเรียน
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
 - ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากคลิปวีดีโอ
วิเคราะห์ ออกแบบกระบวนการรวมทั้งปฏิทินการเรียนรู้
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- แผนผังครอบครัว พร้อมกับลักษณะเด่นของแต่ละบุคคล
- ป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
ความรู้ :
นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจอยากเรียนรู้และสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตได้
- ออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจและตรงเป้าหมายที่อยากเรียนรู้
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น



ภาพตัวอย่างกิจกรรม











ตัวอย่างชิ้นงาน

 











 



 
 




 














 

 


 




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการอเปิดเรียน เนื่องจากพี่ ได้เลือกหน่วยการเรียนรู้ไว้แล้วก่อนปิดเรียน Q3 และได้ออกแบบปฏิทินไว้แล้ว ครูเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการเปิดคลิปวีดีโอ "อนาคตอีก 500 ปี" ซึ่งมือดูจบพีๆ สนทนาแลกเปลี่ยนกัน
    พี่บอล "อีกนานเราก็ไม่อยู่แล้วครับ"
    พี่เพชร "อาจเกิดขึ้นได้ เพราะโลกเราเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว"
    จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด "พี่ๆย้อนกลับไปดูตนเอง มีความเหลือนหรือต่างจากใครในบรรพบุรุษของเรา
    พี่บีท "ครูคะหนูเหมือนพี่ ลายมือสวย ตัวสูง พูดน้อย"
    พี่มายด์ "หนูดำเหมือนพ่อ ไม่สูงเหมือนแม่"
    พี่ซินดี้ "หนูตัวเล็กเหมือนแม่ ผมเหมือนพ่อค่ะ"
    การบ้านของพี่ๆ ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ เขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
    วันอังคาร ครูและพี่ๆ สนทนาร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วย มี 2 หน่วยคือ Happening before us และ สุนทรียศิลป์ จากนั้นพี่ๆ แลกเปลี่ยนปฏทินการเรียนรู้ และสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ พร้อมช่วยกันเขียนลงกระดาษแผ่นใหญ่
    วันพฤหัสบดี พี่ๆเขียน mind mapping ก่อนเรียนของตนเอง
    วันศุกร์ ครูและพี่ๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ