เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 6


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ :
- นักเรียนเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับการก่อเกิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
- นักเรียนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับวรรณกรรม บุคคลสำคัญ ที่เกี่ยวกับสังคม ศาสนา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถแต่งและวิจารณ์วรรณกรรมง่ายๆ ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
 6
13 – 17
ก.พ.
60
 โจทย์ :
- วิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต
- ศิลปะวรรณกรรม

คำถาม
- นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่กำเนิดขึ้นบนโลกมีลักษณะเป็นอย่างไร?
- สิ่งมีชีวิตที่หลายหลายในโลกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปได้อย่างไร?
- มนุษย์จะสูญพันธุ์ไปเหมือนในไดโนเสาร์ไหม?
- วรรณกรรมเกี่ยวข้องอย่างไรกับคนในแต่ละยุคสมัย เราสามารถเรียนรู้อะไรจากวรรณกรรมนั้นๆ?
เครื่องมือคิด
- Card and Chart แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนที่เหลือเชื่อ
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความเหมือนของคนเราและการเชื่อมโยงการเรียนรู้/การสร้างสรรค์วรรณกรรม บุคคลที่สร้างวรรณกรรม
- Web  ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
Show and Learn นำเสนอชิ้นงาน และอธิบายความเกี่ยวข้องในสิ่งที่ตนเองได้ศึกษา (เช่น การก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต หลักฐาน ข้อสันนิษฐาน / วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลต่างๆ เป็นต้น)
- BAR การตั้งคำถามและการออกแบบกิจกรรม
- DAR กระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมทั้งหมด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปวีดีโอ “Niamh meets her second Twin Stranger...In Italy!
- คลิปวีดีโอ “ชีวิตบนโลกเกิดมาจากอะไร? มาค้นหาต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตกัน
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในชั้นเรียน

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :  
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “Niamh meets her second Twin Stranger...In Italy!


(https://www.youtube.com/watch?v=tS409yHw7aQ)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดอย่างไรกับความเหมือนนี้ เชื่อหรือไม่ เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียน เขียนแสดงความคิดเห็น (Card and Chart) พร้อมนำเสนอ
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด 
+“มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง?
+ “วรรณกรรมเกี่ยวข้องอย่างไรกับคนในแต่ละยุคสมัย เราสามารถเรียนรู้อะไรจากวรรณกรรมนั้นๆ”
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต/วรรณกรรม และบุคคลที่สร้างสรรค์วรรณกรรม
- นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง โดยผ่านชุดคำถามจากครูและคำถามของตนเอง
เป้าหมายการเรียนรู้
- การก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต และการดำรงชีวิต
- วรรณกรรม บุคคลที่สร้างสรรค์วรรณกรรม
Flip Classroom
นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “ชีวิตบนโลกเกิดมาจากอะไร? มาค้นหาต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตกัน
(https://www.youtube.com/watch?v=lMw7U8UGHnk)
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต พร้อมออกแบบชิ้นงานของตนเอง (เช่น การทดลอง โมเดล ชาร์ตหรือคลิปวีดีโอ) เพื่อนำเสนอ 
นักเรียนนำเสนองานความก้าวหน้าของงาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-    นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-    นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-    นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-    ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Web
นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากวันอังคาร พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ  
นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง และมีวิธีการจัดการความรู้ของตนเองอย่างไร
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียน)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้ของตนเองในสมุดเล่มเล็ก
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นคว้าและออกแบบการการนำเสนอการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต/วรรณกรรม บุคคลที่สร้างสรรค์วรรณกรรม
- วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับการสิ่งที่ได้เรียนรู้

ชิ้นงาน
- Card and Chart แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำทำนายของหญิงตาบอด
- Web กระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- ชาร์ตความรู้การกำเนิดสิ่งมีชีวิต/คลิปวีดีโองานวรรณกรรม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
- เข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับการก่อเกิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
- เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับวรรณกรรม บุคคลสำคัญ ที่เกี่ยวกับสังคม ศาสนา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถแต่งและวิจารณ์วรรณกรรมง่ายๆ ได้



ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับการกำเนิดและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต/วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตหรืออื่นๆได้
- วางแผนออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต/วรรณกรรมต่างๆได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง



ตัวอย่างกิจกรรม














 





ตัวอย่างชิ้นงาน

Happening Before Us
 สุนทรียศิลป์
  












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์นี้ในครั้งแรกครูจะให้พี่ๆ ได้อ่านบทความแต่เนื่องจากเจอคลิปวีดีโอ “Niamh meets her second Twin Stranger...In Italy!” ซึ่งเกี่ยวกับการเจอคนที่หน้าเหมือนเรา และมีการพิสูจน์โดยสลับตัวกัน โดยไม่ให้คนใกล้ชิดรู้ พี่ๆ รู้สึกตื่นเต้นไปกับเรื่องที่ได้ดู และตั้งคำถามกับตัวเอง ถ้าได้เจอคนที่หน้าเหมือนเราจะทำอย่างไร
    จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เราเกิดมาได้อย่างไร แล้วสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กับเราใครที่เกิดก่อนกัน” ส่วนพี่ๆ งานศิลปะสัปดาห์นี้ได้โจทย์เกี่ยวกับงานเขียนวรรณกรรม พี่ๆ แต่ละคนออกแบบการเรียนรู้ของตนเองโดยมีเป้าหมาย คือ การกำเนิดสิ่งมีชีวิต (วิวัฒนาการ)และวรรณกรรม (ศิลปะ)
    วันอังคารพี่ๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองจะปฏิบัติ และลงมือทำชิ้นงานของตนเองและในช่วงท้ายนำแสดงความคืบหน้า ปัญหาที่เจอและสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในชิ้นงาน กลุ่มวิวัฒนาการนำเสนอในรูปแบบชาร์ตความรู้ ส่วนงานวรรณกรรมจะนำเสนอในรูปแบบคลิปวีดีโอ
    วันพฤหัสดี พี่ๆ แต่ละกลุ่มนำชิ้นงานของตนเองพร้อมสำหรับการนำเสนอ และพี่ๆ ที่ยังไม่เข้าใจซักถาม การนำเสนอของพี่ๆ แบ่งเป็นวิวัฒนาการของพืช สัตว์และคน ซึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแต่ละเรื่องไปพร้อมกัน พี่ๆ จะทำเรื่องนี้ซ้ำในสัปดาห์ต่อไปเพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจมายิ่งขึ้น ส่วนกลุ่มศิลปะ เป็นการนำเสนอวรรณกรรมของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ลีโอ ตอลสตอย รง วงค์สวรรค์ ยาสึนาริ คาวะบาตะ นากีฟ มาฟุน และแฮมมิ้งเวย์ เป็นต้น วันนี้พี่ๆ ได้ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ของตนเอง เพราะในวันศุกร์มีการจัดกิจกรรมที่มัธยม คือ การประชันดนตรีของผู้ปกครองและพี่ๆ มัธยมค่ะ

    ตอบลบ