เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 3

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ :
- นักเรียนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับการก่อกำเนิดโลก วิวัฒนาการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการคงอยู่และเปลี่ยนแปลง อีกทั้งปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
- นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะในยุคต่างๆ มาประยุกต์ใช้จริงได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
23 - 27
ม.ค.
60
โจทย์ :
วิวัฒนาการของโลก
- ก่อกำเนิดโลก
- โครงสร้างของโลก
การนำศิลปะสมัยก่อนประยุกต์ใช้

คำถาม
- ใครเป็นผู้สร้างโลก?
- ทำไมมนุษย์อาศัยอยู่บนเปลือกโลกได้? 
- โลกมีลักษณะเป็นทรงกลมจริงหรือ?
- นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะมาประยุคใช้ได้อย่างไรบ้าง?   
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำถามจากคลิปวีดีโอ และการเชื่อมโยงการเรียนรู้
- Jigsaw 
+ ออกแบบการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น การก่อกำเนิดโลก วิวัฒนาการโลก ลักษณะของโลก เป็นต้น
+ ออกแบบชิ้นงานจากงานศิลปะในยุคต่างๆ 
- Web แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- Show and Learn นำเสนอชิ้นงาน และอธิบายความเกี่ยวข้องในสิ่งที่ตนเองได้ศึกษา (เช่น การก่อกำเนิดโลก วิวัฒนาการโลก ลักษณะของโลก/ประยุกต์ชิ้นงานจากศิลปะแต่ละยุกต์ เป็นต้น )
- BAR การตั้งคำถามและการออกแบบกิจกรรม
- DAR กระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมทั้งหมด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปวีดีโอ “สุดยอดสารคดี ไขความลับดินแดนปริศนาของโลก”
- บทความชมรบเรื่องลึกลับ เกี่ยวกับการพบนาฬิกาในสุสานจิ๋นซี
- บรรยากาศในชั้นเรียน

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :  
- ครูและนักเรียนดูคลิปวีดีโอ “สุดยอดสารคดี ไขความลับดินแดนปริศนาของโลก”

(https://www.youtube.com/watch?v=ORf2A6A2pKE&t=1273s)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้และอยากรู้อะไรบ้างจากคลิปวีดีโอนี้?”
เชื่อม : 
- นักเรียนเขียนประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับสิงที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอ
- นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ ฟัง และเพื่อนๆ เพิ่มเติมสิ่งที่ตนเองรู้
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด 
+ “ทำไมมนุษย์อาศัยอยู่บนเปลือกโลกได้ ทั้งที่ภายในโลกของเราเต็มไปด้วยแม็กมา? (Happening before us)
+ “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะในยุคต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในงานศิลปะได้อย่างไรบ้าง?” (สุนทรียศิลป์)
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ ฟัง
- นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง โดยผ่านชุดคำถามจากครูและคำถามของตนเอง
ชุดคำถาม
Happening before us
- นาฬิกาที่พบในสุสานจินซี มีมาแต่ในอดีตจริงหรือ?
- พระเจ้าสร้างโลกเราจริงหรือไม่?
- ภายในโลกมีแก่นที่ร้อนมากจริงหรือ?
- ภายใต้โลกของเราร้อนมาก ทำไมเราไม่ได้รับอิทธิพลนั้น?
- เราเชื่อทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์บอกเล่าเกี่ยวกับการกำเนิดโลกจริงหรือ?
- โลกของเราเกิดก่อนหรือหลังพระอาทิตย์?
- ทำไมเราจึงเชื่อว่าโลกกลม?
- เราทราบได้อย่างไรว่าโลกเราเกิดราว 4,560 ล้านปีที่แล้ว?
สุนทรียศิลป์
- เราสามารถนำสิ่งใดบ้างมาสร้างสรรค์งานศิลปะ?
- เรารู้ได้อย่างไรว่า ศิลปะเกิดขึ้นในยุคใด?
- เราเชื่อทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์บอกเล่าเกี่ยวกับหลักฐานทางศิลปะในแต่ละยุค?
เป้าหมาย
- การก่อกำเนิดโลก สนามแม่เหล็ก และโลกในปัจจุบัน
- ประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะยุคต่างๆ
Flip classroom นักเรียนอ่าน บทความชมรบเรื่องลึกลับ เกี่ยวกับการพบนาฬิกาในสุสานจิ๋นซี (ในเฟสบุ๊ค)


วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- ศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดโลกพร้อมออกแบบชิ้นงานของตนเองเพื่อนำเสนอ 
นักเรียนนำเสนองานความก้าวหน้าของงาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-    นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-    นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-    นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-    ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Web
นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากวันอังคาร พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจการก่อกำเนิดโลกและวิวัฒนาการโลก/ประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะยุคต่างๆ)
นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง และมีวิธีการจัดการความรู้ของตนเองอย่างไร
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียน)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้ของตนเองในสมุดเล่มเล็ก
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-    ค้นคว้าและออกแบบการการนำเสนอการกำเนิดโลก
-     ออกแบบจำลอง การทดลองความความร้อนใต้เปลือกโลก
-    วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดโลก โครงสร้าง

ชิ้นงาน
- Web กระบวนการและอุปสรรคในการทำกิจกรรม
- ชาร์ตความรู้การกำเนิดโลก/ชิ้นงานประยุกต์ศิลปะในแต่ละยุกต์
- สรุปความเข้าใจจากเรืองกำเนิดโลก/งานศิลปะ ในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
- เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับการก่อกำเนิดโลก วิวัฒนาการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการคงอยู่และเปลี่ยนแปลง อีกทั้งปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
- สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปะในยุคต่างๆ มาประยุกต์ใช้จริงได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับการก่อกำเนิดโลก/ศิลปะในแต่ละยุคได้
- วางแผนออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับการการกำเนิดโลก/ประยุกต์งานศิลปะในแต่ละยุคได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์


คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น




ตัวอย่างกิจกรรม

 

 
 








 

 







ตัวอย่างชิ้นงาน

 Happening Before us
 สุนทรียศิลป์

  






 

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 พี่ดูคลิปไขความลับดินแดนปริศนาซึ่งเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการมาสร้างบางสิ่งบางอย่าง เป็นอารยธรรมของคนโบราณหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ต่างดาวมาสร้างไว้ เมื่อดูจบพี่ๆ ร่วมสนทนาพูดคุยกับคุณครูเกี่ยวกับความเชื่อจากในคลิป ซึ่งพี่หลายคนค่อนข้างไม่เชื่อในเรื่องของการมาสร้างไว้ของมนุษย์ต่างดาว และดินแดนที่มีหลักฐานของวัตถุจากนอกโลก จากนั้นพี่ๆ ทั้งสองกลุ่มวางแผนงาน โดย
    กลุ่มวิวัฒนาการ ออกแบบและวางแผนการนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะของโลก เวลา หลุมดำ
    และกลุ่มศิลปะออกแบบวางแผนเกี่ยวกับการประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นชิ้นงาน
    วันอังคารพี่ๆลงมือทำชิ้นงานของตนเองและในช่วงท้ายนำแสดงความคืบหน้า ปัญหาที่เจอและสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในชิ้นงาน โดยกลุ่มพี่นัท (ออกแบบการทำสร้อยสัญลักษณ์ของราชินีกรีก) “ผมร้อยลูกปัด แต่ลูกปัดร้อยยากมาก จะพยายามร้อยครับ”)
    พี่คอปและพี่ปังปอนด์ทำพู่กันด้วยกิ่งไม้ "กลุ่มผมทำพู่กันเสร็จแล้วตอนนี้เหลือวาดภาพครับ"
    ส่วนกลุ่มวิวัฒนาการ หาข้อมูลและเตรียมนำเสนอได้ 80% แล้วค่ะ/ครับ วันพฤหัสบดี พี่ๆ นำเสนองาน กลุ่มวิวัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับการกำเนิดโลก ขนาดของโลก พื้นโลก
    วันพฤหัสดี พี่ๆ แต่ละกลุ่มนำชิ้นงานของตนเองพร้อมสำหรับการนำเสนอ โดยบรรยากาศของการนำเสนอเป็นไปอย่างสนุกสนาน เพราะพี่ๆ เกิดความสงสัยในหลายๆ อย่างจากหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ และคนที่อ่านมาและมีความรู้หรือเคยได้ยินมาก็มาช่วยกันต่อเติม เช่น การเกิดของโลกในศาสนาต่างๆ อัลเลาะฮ์ คือ ผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองในเวลาหกวัน และกลุ่มศิลปะ นำชิ้นงานที่ตนเองได้สร้างสรรค์ และประยุกต์มานำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ร่วมเรียนรู้ด้วย
    วันศุกร์พี่ๆ ได้ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้และตอบคำถามที่เพื่อนๆ สงสัยในการนำเสนอเมื่อวันพฤหัสดี และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ของตนเอง

    ตอบลบ